When you can find the answer from your mat

คิดว่าต้องฝึกนานแค่ไหน?
กี่เดือนกี่ปีถึงจะทำได้?
แล้วจะไปเริ่มตรงไหน?

ฝึกนานแค่ไหน…ต่างกันอย่างไร
ฝึกสองชั่วโมง หนึ่งวันต่อสัปดาห์
ฝึกสองชั่วโมง ห้าวันต่อสัปดาห์
ฝึกวันละชั่วโมงครึ่ง แต่ทุกๆวัน
มาเป็นระยะเวลา(…)ปี
(ลองทดเลขไว้ในใจ จะมองเห็นความต่าง)

กี่เดือน กี่ปี ถึงจะทำได้…ทำอะไรบ้าง?
ขาพาดคอ ยืนด้วยมือ ลอยได้ บิดได้ ฯลฯ
หายใจได้หรือแค่ได้หายใจ
มายืนบนแมตฝึกสม่ำเสมอ
กี่เดือน กี่ปี ถึงจะทำ….ได้
เราอยากจะทำอะไรได้ และ
อยากจะให้ทำไปแล้วเราเองได้อะไร?
(ลองจดวัตถุประสงค์หลักที่อยากได้จากการฝึกไว้ จะเห็นความชัดเจน)

แล้วจะไปเริ่มตรงไหน…
เริ่มหลังจากงานเสร็จ ก่อนไปทำงาน เริ่มเมื่อมีเวลา
เริ่มจากซื้ออุปกรณ์ก่อนครบก่อน
เริ่มเมื่อตัวอ่อนกว่านี้ เมื่อแข็งแรงกว่านี้
เริ่มปีหน้า เริ่มวันนี้ เริ่มเดี๋ยวนี้
จุดสตาร์ทต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไข(ข้ออ้าง)
ของเวลา สถานที่ และการให้ความสำคัญ
(ลองเขียนลงไป ว่าตรงไหนคือจุดเริ่มต้นของเราเองจริงๆ)

“อยากเล่นโยคะมากเลยค่ะค่ะ /
อยากเรียนโยคะจังเลยครับ”

…เป็นคำถาม คำทักทาย หรือคำนี้เอาจริง
ครูอยู่ตรงนี้ แมตฝึกอยู่ตรงนี้ นักเรียนอยู่ตรงไหน
เป็นสิ่งที่ไม่มีใครบังคับกันได้ อยู่ที่ตัวผู้ฝึกเอง

ความอยากฝึก มีความตั้งใจมากพอ
ที่จะจัดการตัวเองเพื่อมายืนบนแมตได้แค่ไหน
เมื่อไหร่ สม่ำเสมอเพียงใด…

… เพราะการ”ฝึกโยคะ” มันไม่เหมือน”เล่นโยคะ

รอให้พร้อม รอให้มีเวลา รอให้เกิด มันจะได้แต่รอ…
process ที่น่าสนใจคือ การก้าวข้ามเงื่อนไขทั้งหลาย
แล้วก้าวมายืนบนแมตฝึก
ยังไม่พร้อมสิดีจะได้รู้ว่าต้องปรับ ต้องฝึกตรงไหนอย่างมีสติ
การพาตัวเองมายืนบนแมตอย่างสม่ำเสมอ
คือด่านวัดใจในทุกๆวัน เอาแค่สองอย่างนี้
จะเป็นguidelineที่ตอบคำถามต่างๆได้แจ่มชัดที่สุด

คำตอบที่ดีที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุดกับตัวเรา จะได้จากการมาฝึกฝนเท่านั้นนะคะ นมัสเต 🙏🤗

#ilovemypractice #ashtangasamasthiti #ashtanga #yoga #sadhana #breathe #togetherness #mysorestorie

ภาพถ่ายและเนื้อเรื่อง : ครูอันย่า (Anyamanee Wannawichya)