
As my goal is to stay in India as local as much as possible, use their public transportation, do grocery shopping the ordinary market, eat local both food, drinks and sweets.
First, I waited for the bus at the bus stop, funny things that even I can read a little bit of Devnagri alphabets but now I still cannot notice and signage of the bus stop. So I have to ask people around there and know where to wait for the bus. I noticed that every bus in Goa, they are quite familiar as Thai. We believe in any spiritual god that we pray and respect. For the bus in Goa, I notice that mostly the bus name “Hanuman” and have Ganesha in front of the bus (or sometimes is Jesus, as there’re churches around here as well)
“What does it mean for Hanuman and Ganesha?”
– Hanuman, in Indian belief, he’s like a super hero, strong, powerful, fast and loyal.
– Ganesha, represent for no obstacle on their journey.

“Both gods with us, we will arrive our destination fast and safe” said the driver.

It takes only 20 Rupees from Morjim to Mapusa, around 40 mins. It can be a little bit longer if if the bus is waiting quite too long for full passengers. There’re Lady seats at the front of the bus, 70 percent of the passengers are women and kids, as this bus route pass many schools and fish market, Siolim. I’m not hurry today, so I can enjoy the villages, houses, views and look outside the bus window and feel Indian seabreeze this afternoon.
When we would know that we arrived Mapusa?
– Along the way, there’s only the trees, small houses and shops. When you nearly reach there, you can notice the big Church, Galaxy hospital, narrow slope road and antique Portugese houses style. Or notice the people in the bus, most of them come to Mapusa market.
There’s nothing much to buy here for the tourist but interesting to observe local lives. If you want to buy more variety kind of vegetables and fruits, seafoods, pottery, kitchen equipment, flowers, herbs and spice. This market is recommended (but not for fashion items).
But I’m quite interested in what local really do.




-To tailored your own clothes (Kulta) it cost only 200 rupees for such custom made within 3 days (exclude the cloths that you have to bring for them).

Tailored by the man, different from Thailand.
– To buy meat, only seafoods and chicken are available. No pork. For chicken, it’s too cruel for me. They do love fresh chickens. You point at which one alive, then they cut it throats and prepare such fresh chicken for you. I refuse to eat chicken in India now. They are too cute to be executed. To buy fish, they are really fresh as Goa is nearby Arabian Sea. You can buy and go to cutlet station, pay around 10-20 rupees up to the quantity.

– To buy fruits and vegetables, they use a lot of coloring. Better to buy and wash properly again with vinegar and baking soda before cook or eat. Basil is also for holy worship and respect to god, not as in Thailand, please be very careful when someone in India ask you about what you’re going to do with basil, just smile or told “Puja”, ok I’m a food worshipper. The price is really cheap, 10-50 rupees, good price and fresh more than supermarket nearby the house.

This trip I’m not strict to be vegan but my friends in shala, mostly they are vegan. So it is another great opportunity avoid eat the meat, full started to complete “Ahimsa”, feel lighter in my yoga practicing. What we eat is really affect to the practice.
Finally, it’s nearly 5 pm. Time flied. I need to get back to the bus before 6 pm (last bus) which would be too crowded. Before I took the bus back to Morjim, I went to sweets shop, most challenging activity of the day. I heard that they are too sweet, but I do not believe until I tried them first. You can order all of sweets each into little box, only 100 rupees. Mostly are from milk, nuts and sugar. I will separate the review of each in next blog.
I stayed on the bus 40 mins waiting for the bus to be packed, and another hour of longer route bus. Same destination, but different route. Too tired to share my seat for any kids or elder. I’m sorry but I need to survive.
:: Photo and content editor by Teacher Anya (Anyamanee Wannawichya)
หากตั้งใจแล้วก็ต้องไปให้สุด ในเมื่อเราอยากใช้ชีวิตที่อินเดียแบบคนพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากการเช่ารถสกุ๊ตเตอร์ การเรียกแท๊กซี่ เราก็จะเลือกการโล้รถเมล์ไปตลาดที่ใหญ่ที่สุดแทนตามรอยแม่บ้านนามว่านิชา นางบอกจะมาตลาดเลยขอตามมาด้วย รายการจ่ายตลาดธรรมดามาก คือไปซื้อผัก ผลไม้ อะไรอื่นๆที่น่าสนใจและไปถอยขนมหวานของอินเดียมาชิม มารีวิวดูกัน ซึ่งหาได้ทั่วไปตามตลาดใหญ่ๆ
เราใช้เวลาอยู่สักพักในการพยายามหาป้ายรถเมล์ ถึงแม้ว่าวิชาความรู้การอ่านตัวอักษรเทวนาครีแบบพอเอาตัวรอดให้สะกดอ่านออกได้บ้าง แต่สิ่งที่หาไม่เจอจริงๆคือป้ายรถเมล์ ไม่มีเจอสัญลักษณ์ใดๆที่ระบุว่าตรงนี้คือที่จอดรถเมล์ ถ้าไม่แน่ใจก็ใช้ปากถามคนแถวนั้นเอาเค้าพูดภาษาอังกฤษกันได้ แต่มากับนิชาก็จะแม่นๆหน่อยว่ายืนตรงไหน เล็งคันที่ระบุหน้ารถว่าไป Shivolim/ Mapusa ส่วนมากจะได้นั่งเพราะว่า Morjim ค่อนข้างจะเป็นต้นสาย คุณป้าย่ายายจะทยอยขึ้นมาระหว่างทาง ราคาก็ 20 rupees รถมีแค่แอร์กี่ รับลมข้างทางมองต้นมะพร้าวเพลินๆไป บนรถเมล์ค่อนข้างปลอดภัยไม่ได้ดูน่ากลัวไปซะหมดตามที่เคยเห็นตามสื่อต่างๆ ก็ขึ้นรถเมล์กลางวันแสกๆ ที่นั่งสำหรับสุภาพสตรีเค้าก็จัดไว้ให้ช่วงหน้ารถ ถ้าอยากให้ปลอดภัยไปอีกก็เล็งคุณยายแล้วเข้าไปนั่งด้วย ฝากเนื้อฝากตัวเป็นหลาน ทักทายนมัสเตไปตามประสา ซึ่งเราว่าการใช้เสน่ห์ไทยความเป็นผู้น้อยแบบไทยๆ ป้าย่ายายแถวนี้จะเอ็นดูมากๆ ได้ซึ่ลดราคาค่าผักผลไม้อยู่บ่อยๆ
เมื่อขึ้นไปบนรถ สิ่งที่เห็นบนรถทุกคันก็คล้ายๆกับพี่ไทยบ้านเรา คือมีพระ อุ่นใจไม่ว่าเส้นทางไหนหรือขับกันโฉบเฉี่ยวเพียงใด เทพเจ้าที่เราเห็นบ่อยๆหากคนาขับนับถือฮินดู จะเป็นหนุมานกับพระพิฆเนศ หนุมานตามท้องเรื่องของทางฮินดูคือมาแนวซุปเปอร์ฮีโร่ แข็งแรง ว่องไว ส่วนพระพิฆเนศก็ช่วยขจัดปัดเป่าอุปสรรคหนทางข้างหน้า เมื่อสองเทพรวมกันรถเมล์คันของเราก็จะทั้งปราดเปรียว วิ่งไวไร้รถติดขวาง อะไรทำนองนี้ แต่หากคนขับนับถือศาสนาคริสต์ ก็จะเป็นไม้กางแขนหรือพระเยซูบ้าง บางคันก็ระบุไม่ได้ว่าศาสนาอะไรมีหมดทุกเทพเลย รู้สึกปลอดภัยเหลือเกิน
เนื่องจากตลาดมาปูซ่า หรือม๊อปซ่า เป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่มาก ถ้าจะซื้อของแบบสไตล์นักท่องเที่ยวคงไม่เหมาะ เหมาะกับการมาจ่ายตลาดแบบธรรมดาที่ย่ายายเค้ามาซื้อผักซื้อปลา เครื่องเทศ อุปกรณ์เครื่องครัวกระทะหม้อไหมีด ดอกไม้ เสื้อผ้าแบบตามตลาดนัดทั่วไป จุดสังเกตว่าใกล้ถึงตลาดก็คือตลาดนี้จะเป็นจุดจอดรถบัสที่ใหญ่มากๆ คนลงกันเยอะมากแบบหมดทั้งคัน ระหว่างทางก็จะผ่านบ้านเรือนที่สีสันน่าสนใจสไตล์โปรตุกีสเก่าๆ แต่มีเสน่ห์ดูเพลินตา น่ามาถ่ายรูปเล่น
วันนี้ได้เดินดูเดินซื้ออะไรบ้างหนอ
– ตามนิชามาก่อน เพราะนิชานัดมาเอาเสื้อที่เรียกว่า ขุลต้า ที่นางเอามาสั่งตัดไว้ ร้านตัดเสื้อผ้าที่นี่ ส่วนมากช่างเป็นผู้ชายเกือบทั้งหมด เราแค่หาซื้อผ้าสีที่ใช่ลายที่ชอบมา แล้วก็มาวัดตัว 3 วันก็สวยได้ในราคา 200 rupee เท่านั้น
– ข้างๆร้านตัดเสื้อของนิชา มีขายไก่ ไก่เป็นๆมัดขามัดปีกแล้ววางกองร้องกุ๊กๆอยู่ที่พื้น คนที่นี่กินไก่ ไก่เค้าจะสดมากเพราะจะเชือดให้ใหม่ๆ ไม่ว่าเราจะต้องตาตัวไหน เมื่อชี้เป้าไก่นั้นก็จะโดนเชือดชำแหละเนื้อให้เรียบร้อยพร้อมเอากลับไปประกอบอาหาร หรือจะซื้อเป็นๆไปเชือดเองที่บ้านก็ได้ เมื่อเห็นดังนั้นเราเลยตั้งปณิธานในทริปนี้ การหาอะไรกินเองคนเดียวค่อนข้างสะดวกคล่องตัว เราไม่ได้มีความอยากเนื้อสัตว์อะไรมากมาย ไม่อยากสั่งฆ่าด้วย เลยกินแค่สิ่งที่ตัวเองพกมาและหาซื้อเป็นผักผลไม้ไปซึ่งไม่ได้ทำให้ชีวิตลำบากอะไร ดีเสียอีกที่เวลาฝึกจะได้ตัวเบาๆด้วย เพราะการกินมีผลต่อการฝึกจริงๆ ตอนนี้การฝึกก็เริ่มเข้าที่เข้าทางและสบายตัวมากขึ้นด้วย
– หากจะซื้อซีฟู้ด ที่นี่ก็หาได้ในราคาไม่แพงเพราะกระชังหรือเรือประมงก็จับอยู่ทุกวี่วัน ทะเลสวยๆที่ไปเดินเล่นตอนเย็นทุกวันคือทะเลอาหรับ เรื่องราคาก็สบายๆดี ปลาทู 6 ตัว 100 rupee ต่อได้ตามความสามารถ ขึ้นอยู่กับขนาดและความสด หากเราซื้อปลาใหญ่แล้วต้องการให้เค้าทำปลาให้ ก็สามารถเอาปลาไปตรง station ชำแหละปลาได้ จะมีมือมีดที่คล่องการชำแหละปลาอยู่ คิดค่าแรงก็ประมาณ 10-20 rupeeแล้วแต่ปริมาณ
– สำหรับผักผลไม้ที่นี่ อาจจะไม่ได้หลากหลายมากนักเท่าบ้านเรา ถ้าซื้อแถวบ้านเช่าจะไม่ค่อยหลากหลาย ส่วนมากอาหารอินเดียจะประกอบอาหารที่ทำให้ผักดูไม่ออกว่าเป็นผักอีกต่อไป คือสลายร่างความผักรวมไปกับแกงแบบจำไม่ไม่ได้เลยว่าเราได้กินผักเข้าไป สิ่งที่โหยตอนนี้เลยกลายเป็นผักสด หรืออาหารที่ยังมี texture ความผักให้ได้ขยับเหงือกและฟันบ้าง ข้อควรระวังของผักผลไม้ที่นี่คือเรื่องของยาฆ่าแมลงและการใส่สีให้ดูว่าผักสดสีสวย (ซึ่งเราแพ้) ทุกครั้งเราจึงเลือกที่จะซื้อผักผลไม้มาล้างเองที่บ้าน แช่นานๆไปเลยด้วยน้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดา สีของน้ำหลังการล้างผัก จะทำให้รู้สึกว่าคุ้มค่าแล้วที่หิ้วอุปกรณ์เพื่อล้างผักผลไม้มาด้วย
– มีผักเดียวที่ควรระวังนิดหนอ่ยเวลาซื้อมาหรือประกอบอาหาร นั่นคือกะเพรา เพราะที่นี่เค้าถือว่าเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไว้ใช้บูชาไหว้เทพเจ้าเค้าทุกวัน หากสังเกตตามบ้านจะเป็นเค้าทำเป็นฐานแท่นบูชาจริงจังและปลูกกระเพรา วางพวงมาลัยกระถางธูป ตอนซื้อถ้าเผอิญเจอพ่อค้าคุยเก่ง ก็บอกว่าเอาไปบูชา(จริงๆคือเราบูชาอาหาร ฮา) หรือไม่ก็แค่ยิ้มๆไม่ต้องพูดอะไรมาก ซึ่งที่พีคอีกเสตปคือช่วงการประกอบอาหาร กลิ่นกระเพราเป็นกลิ่น signatureผัดทีนึงก็รู้ไปสามบ้านแปดเรือน คราวก่อนเราผัดแบบเปิดหน้าต่าง เจ้าบ้านถึงกับแทบพังประตูเข้ามาว่าเราทำอะไร ครั้งนี้จึงระมัดระวังในการผัด ปิดหน้าต่างฝั่งที่กลิ่นออกไปบ้านอื่น มีฝาปิดเพื่อให้กะเพราสุกแทน
– สุดท้ายคือขนม ตั้งแต่มาเราพยายามลองขนมทุกอย่างในร้านน้ำชา ให้อารมณ์บรรจุภัณฑ์ขนมปี๊บที่เอาไว้กินคู่กับชา ความหวานก็น้ำตาลขึ้นทะลุลูกตาขึ้นมายันหัวกันไปเลย ซึ่งเราคิดว่าเราไม่อยากตัดสินว่าขนมเค้าไม่อร่อยหรือไม่ถูกปากเราอย่างไรหากเรายังไม่ลองให้ครบ ก็เลยเดินไปที่ร้านขนมในตลาดแล้วบอกเค้าว่าเอาทุกอย่าง อย่างละ 1 ชิ้น ซึ่งเค้าจะมีกล่องหลายขนาดไว้ให้เลือกเลย ส่วนผสมหลักก็จะเป็นนม น้ำตาล แป้ง ถั่ว ได้กล่องนึงมาสมใจ 100 rupee เดี๋ยวจะชิมเพื่อทำการรีวิวแบ่งปันเรื่องราวเป็นลำดับถัดไปกัน หนึ่งในนั้นมีขนมที่เป็นขนมที่พระพิฆเนศโปรดปรานด้วยนะ
เกือบ 5 โมงเย็น เดินเลาะไปมาหันมาคุยกับนิชาว่าเราควรเตรียมขึ้นรถกลับกันได้แล้ว เพราะรถรอบสุดท้ายหมด 6 โมงเย็น ซึ่งเดี๋ยวคนจะค่อนข้างเยอะ รอรถจอดนิ่งๆให้คนขึ้นก็ปาไป 40 นาทีที่นั่งแห้งๆรอบนรถ แล้วก็โล้กลับมาใช้เวลาอีก 1ชั่วโมงเพราะคันที่ขึ้นคือเป็นสายที่มา Morjim ก็จริงแต่เป็นเส้นที่อ้อมกว่าขาไป เหนื่อยมากเหมือนขาหายไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความเอื้ออาทรใดๆให้เด็กหรือคนแก่ในการนั่งขากลับนี้ นมัสเต
:: ภาพถ่ายและเนื้อเรื่อง โดย ครูอันย่า (อัญมณี วรรณวิชย์)