First day… “like a mother’s touch”


Ashtanga Yoga Morjim , Goa, India 

This is the diary that I’m glad to share to our humble community, Ashtanga Yoga Samasthiti Bangkok. My teacher, Nawarat Teeraprasert (Naw) suggested that if I had a chance to go to India, please find Sharmila Desai, at Ashtanga Yoga Morjim. I will learn a lot more with compassion, not only in a physical but also spiritual practice.

I had my wrist pain before coming here last year, at first I feel quite a bit upset that how can I practice with my full potential. Sharmila encouraged me that “You still have full potential, your breath, your other parts of the body that you could working on it, learn what you can do, with what you have, give your body a chance to resilience. Later, I just found out that when we breathe, more oxygen will flow through blood circulation. The good blood circulation will heal any wound and pain and also the nerve system.

This year, still feel like I’m comingback home, no pain but lack of practice regularly enough. I felt guilty that I don’t have any progress and a lil’bit step back but that’s not important because we all can start it again, detach the attachment and develop ourselves if we have faith.

Flashback again that tenderly touch always know exactly guiding me to reach my full potential for what I could at that time. “Let’s try / It’s ok / breathe / take it slow” and so on, that kind smile reminded me to my mom and Naw, my teacher, who suggested me to see Sharmila. Her Simple and clear whispering words helps me to concentrate and working on any small progress which make a big different inside. Imagine of when a mother hold a baby for their first walk, it’s soft but full of the power of love. That kind of feeling will make you feel calm and safe, the more you relax the more you press your own ability and potential button in your practice.

As I mentioned, this is the first day which I’m too excited. I totally forgot to do my dropback before finishing which should not be missed. She came to me and ask if I forgot? Those sparking eyes, warm smile and gentle sound told “ Anya, come back and do your dropback first. Oh, she’s really like my mother.

With love and respect as always,

Anya.

:: Photo and content editor by Teacher Anya (Anyamanee Wannawichya)


ปีก่อนเราตั้งใจเดินทางมาเพื่อการฝึกโยคะเป็นครั้งแรก  เป็นความตื่นเต้นที่จะได้มาฝึกสถานที่อื่นนอกจากที่ Ashtanga Samasthiti บ้าง  เจอผู้คนใหม่  แต่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเดินทาง เรามีอาการเอ็นข้อมืออักเสบ ต้องใส่เฝือกอ่อน  ไม่สามารถแม้แต่จะขยับนิ้วโป้ง  กำมือ หรือหยิบแปรงสีฟันด้วยมือขวาข้างถนัดนี้ได้เลย   ก็เลยมาฝึกทั้งแบบนั้นและบอกคุณครูชามิล่าว่าเรามีอาการบาดเจ็บแบบนี้  เป็นความประทับใจอีกครั้งที่ครูไม่ได้มองว่ามันจะเป็นอุปสรรคอะไรที่จะฝึกไม่ได้  แค่ต้องรู้ว่าเราควรจะฝึกอะไรฝึกอย่างไร  ครูให้เรานึกถึงสิ่งที่เรายังมีอยู่  เช่น ลมหายใจเราสามารถฝึกเรื่องการหายใจก็ได้  การมีสติในทุกๆการเคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้บาดเจ็บหรือหลีกเลี่ยงการทำให้เจ็บเพิ่ม  บางอาสนะเราจะได้หัดใช้ความคิดสร้างสรรค์ว่าเราจะเข้าออกท่าหรือเสริมสร้างความแข็งแรงตรงไหนเพื่อช่วยซัพพอร์ตให้เรายังประคับประคองflowการฝึกได้    เราเคยได้ยินมาว่ามีคนบาดเจ็บจึงหยุดฝึกไปเลย  ความคิดเห็นส่วนตัวหลังจากที่ได้ข้อคิดนี้จากครูชามิล่า  คิดว่าอาจจะเป็นการยอมแพ้หรือประเมินร่างกายตัวเองต่ำไปหน่อย  ระบบในร่างกายคนเราฉลาดเกินกว่าจะกลัวมันแตกหักแบบไข่หรือแก้วน้ำแล้วกลายเป็นไม่ยอมขยับอะไรเลย  จะยิ่งกลายเป็นพังซ้ำซ้อนไปอีก  หากเจ็บควรรู้ว่าเพราะอะไรถึงเจ็บแล้วเรียนรู้ที่จะไม่ทำให้เจ็บเพิ่มพร้อมกับเพิ่มความแข็งแรงหรือการยืดหยุ่นเพื่อช่วยรักษา   “หายใจ” แทบจะเป็นทุกครั้งที่ได้ยินครูชามิล่าบอกนักเรียน  หายใจเรารับออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย  ในระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ไปช่วยรักษาเวลาที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งบาดเจ็บนั่นเอง

ปีนี้กลับมาแม้ร่างไม่พัง  แต่ฝึกมาแบบพังๆนั่นคือขาดความสม่ำเสมอ  ไม่มีพัฒนาการอะไรมากขึ้นและถอยลงจากปีก่อนด้วยซ้ำ  ความรู้สึกผิดก่อเกิดข้างในใจเล็กน้อย  แต่เราจำได้ที่ครูหลายท่านก็เคยพูดอยู่เสมอเช่นกัน  ว่าเราสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ในทุกวัน  วันนี้ที่ฝึกอาจจะไม่เท่ากับวันก่อน  อย่ายึดติดว่าเคยทำได้ถึงไหน  สนใจแค่ว่าฝึกหรือได้พยายามพัฒนาตัวเองหรือไม่ก็พอ   วันแรกของการไปที่ใหม่เป็นเรื่องปกติที่ต้องเริ่มจาก primary ก่อนไม่ว่าจะฝึกถึงไหนมาก็ตาม  สิ่งที่ครูดูคือลมหายใจ  ความแข็งแรง  flowการฝึก  เหมือนเป็นการสรุปออกมาให้ครูเห็นเลยว่าก่อนนี้ไปทำอะไรมาบ้าง ทำแค่ไหน  พังตรงไหน  มันเห็นชัดจาก primary serie นี่แหละ  พื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด

สัมผัสพลังแม่ของครูชามิล่า คือเป็นสัมผัสที่เบาแต่หนักแน่น  นุ่มนวลแต่ชัดเจนว่าจะไกด์เราไปได้ในขีดประสิทธิภาพสูงสุดว่าตอนนั้นเราไปได้แค่ไหน  อะไรที่เรารู้สึกกังวลว่าจะยังทำไม่ค่อยได้ดีนัก  ครูจะฟังและตอบเราว่า  มาลองกันดูก่อน  ไม่เป็นไร  ผ่อนคลาย ช้าๆค่อยไปและหายใจ  พร้อมรอยยิ้มที่รู้สึกเราปลอดภัยแน่ๆแม้อาสนะนั้นจะเป็นท่าไม้ตายที่เราอาจจะใกล้ตายได้  เดจาวูนึกถึงรอยยิ้มหวานๆของครูนว  สไตล์เดียวกันเผง  มาสิจ้ะ ไม่เป็นรัย ค่อยๆจ้ะ ทำจ้า 

ในชาล่าจะเงียบมาก  สิ่งที่ได้ยินจะเป็นเพียงลมหายใจ  เสียงลม เสียงนก และเสียงลุงขายขนมปังเบิ้นมอเตอร์ไซค์อยู่ไกลๆ  ดังที่สุดคือเสียงกระซิบของครู  การสนทนาระหว่างครูชามิล่ากับนักเรียนแต่ละคน  ต่างเคารพความสงบเงียบในการฝึกร่วมกัน  ไม่มีใครคุยกันเอง  ไม่มีใครวอกแวกหรือถอดใจนั่งทอดหุ่ยดูเพื่อนฝึก  ข้อดีที่ได้มาเห็นภาพนี้คือยิ่งสงบนิ่ง เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ  การฝึกยิ่งมีประสิทธิภาพ(อย่างน้อยเราก็รู้สึกได้ว่ามันมีพลัง)

การ adjust ของครูทำให้เรานึกถึงสัมผัสของคนเป็นแม่   เหมือนช่วงประคองในขวบปีแรกๆของการหัดเดิน  น้ำหนักในการสัมผัสคืออ่อนโยนแต่หนักแน่น  ไม่รู้สึกเจ็บ  ผ่อนคลาย รู้สึกปลอดภัย  ใจมันเลยฮึกเหิม(โอเค เรายังฝึกแบบสงบๆนะ  แค่ข้างในรู้สึกฮึกเหิมเฉยๆ) การฝึกวันแรกมันก็จะมีตื่นเต้นหน่อยๆ  ลืมดรอปแบคจ้ะ  ฝึกจบก็ลากแมตไปหลังห้องเตรียม finishing เลย   คุณครูชามิล่าเดินมาตามด้วยสายตาที่เป็นประกายและรอยยิ้มอบอุ่นว่า  อันย่าลืมดรอปแบคหรือเปล่าจ๊ะ  กลับมาดรอปแบคก่อนค่อยไป finishing …โอ๊ย แม่มาตามอะ  คนมันลืมอะแม่  (เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี  วันแรกก็…เป็นไปด้วยประการฉะนี้)

:: ภาพถ่ายและเนื้อเรื่อง โดย ครูอันย่า (อัญมณี วรรณวิชย์)

<< Back to home